Hot Topic!

ประกาศแล้ว! คำสั่งคสช.แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

โดย ACT โพสเมื่อ Aug 16,2018

- -ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์ - -

 

15 ส.ค.61 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ


ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ เพื่อให้การขับเคลื่อนกการดำเนินการในเรื่องการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องนั้น


อาศัยอานาจตามความมในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๔๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคร่าว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้


ข้อ ๑ แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย

๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ

๒) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองประธานกรรมการ

๓) หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ

๔) พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท กรรมการ

๕) พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ กรรมการ

๖) พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง กรรมการ

๗) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการ

๘) นายประมนต์ สุธีวงศ์ กรรมการ

๙) นายถวิล เปลี่ยนศรี กรรมการ

๑๐) รองศาสตราจารย์ จุรี วิจิตรวาทการ กรรมการ

๑๑) รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค กรรมการ

๑๒) นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการ

๑๓) นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการ

๑๔) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ

๑๕) นายประยงค์ ปรียำจิตต์ กรรมการ

๑๖) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตในภาครัฐ กรรมการ/เลขานุการ

๑๗) เสนาธิการทหารบก/ผู้ช่วยเลขาธิการ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ


ข้อ๒ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

 

๑) จัดทำแนวทางและมมตรการในการบูรณาการเพื่อเสริมสร้างและประสานความร่วมมือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป


๒) ประสาน เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และอยู่ภายใต้กรอบธรรมาภิบาล


๓) ติดตาม ประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินหารเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะกรรมการตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนในการต่อต้าน ป้องกัน และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ


๔) จัดทำผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นหรือกลไกในกำรดำเนินการที่จำเป็นในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ตำมหน้าที่และอำนาจในการบริหำรราชการแผ่นดิน


๕) ในกรณีที่เห็นสมควรอาจเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อขอให้มีกาประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณา แนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม


๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานตำมความจำเป็น


๗) เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะความเห็นหรือคำแนะนำทางวิชาการ ตลอดจนขอให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณำฃาได้ตามความจำเป็น


๘) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมำย


ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง

ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

 
 
 

#ร่วมเป็นพลเมืองตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw