Article

ประวัติศาสตร์การรวมตัวของประชาชนเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน

โดย ACT โพสเมื่อ Feb 11,2020

ประวัติศาสตร์การรวมตัวของประชาชนเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เกิดการรวมตัวของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านคอร์รัปชันบ่อยครั้ง ที่สร้างผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับทั่วไปคือ เครือข่ายต่อต้านการทุจริตยา (พ.ศ. 2542) และการต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย (พ.ศ. 2557) ขณะที่เครือข่ายอื่นๆ สามารถบรรลุเป้าหมายมากบ้างน้อยบ้าง มีอายุการดำเนินงานสั้นยาวต่างกันไปตามเป้าหมายการรวมตัว มีหลายเครือข่ายต้องเจอแรงกดดันและอุปสรรคบั่นทอนจนต้องยุติบทบาทไป เช่น ไม่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ขาดแคลนบุคลากรและเงินทุน ถูกคุกคามหรือถูกโจมตีว่ามีผลประโยชน์ทางการเมืองฃ

คนไทยที่ตื่นตัวและพร้อมจับมือกันสู้นั้นมีอยู่มาก ขอเพียงให้รัฐเข้าใจและส่งเสริม ด้วยการทำงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าตรวจสอบได้สะดวก การสนับสนุนด้วยเงินทองยังมีความสำคัญน้อยกว่าการปกป้องมิให้ถูกคุกคาม ข่มขู่ การมีส่วนร่วมก็ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนมีตำแหน่งเงินเดือนอะไร แต่ต้องให้เกียรติ ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือติติง


เพื่อบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ ผู้เขียนจึงรวบรวมรายชื่อเครือข่ายและกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันเคลื่อนไหวประเด็นปัญหาคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ดังนี้

1. จากอดีตถึงปัจจุบัน

เครือข่าย 30 องค์กรทางด้านสาธารณสุขที่ต่อสู้กับการทุจริตยา (2542), เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน - คปต. (2544), กองทุนสื่อประชาสังคมต้านคอร์รัปชัน (2545), มูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (2546), เครือข่าย 84 องค์กรภาคีต่อต้านทุจริต (2547), มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด (2549), เครือข่าย ป.ป.ช. ภาคประชาชน (2552) เครือข่ายสมัชชาคุณธรรม (2554), องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (2554), ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของชาติ (2554), เครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป (2555), สมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล,


2. ปัจจุบันมีเครือข่ายภาคประชาชนที่ดำเนินการและมีผลงานต่อเนื่อง ดังนี้

1.     องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (นายวิเชียร พงศธร, ประธาน)

2.     มูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (รศ.ดร. จุรี วิจิตรวาทการ, เลขาธิการ)

3.     มูลนิธิต่อต้านการทุจริต (ศ. วิชา มหาคุณ, ประธาน)

4.     มูลนิธิส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (พล.อ.อ. วีรวิท คงศักดิ์, ประธาน)

5.     แนวร่วมปฏิบัติแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC – IOD)

6.     กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG – Fund)

7.     กองทุนสื่อเพื่อความเป็นธรรมในสังคม (นายอานันท์ ปันยารชุน, ประธาน)

8.     เครือข่ายวิชาการ เช่น ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, สถาบัน ทีดีอาร์ไอ, สยามแล็บ (เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ), สถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริต แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต 

9.     เครือข่ายภาคประชาชนที่รวมตัวกันในต่างจังหวัด เช่น ขอนแก่น โคราช ชลบุรี

10.  เครือข่ายอื่นๆ เช่น มูลนิธิเพื่อคนไทย, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม, สุจริตไทย, Change Fusion, Open Dream, เครือข่ายแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม (ประเทศไทย), เทใจ, ชมรมรู้ทันกันโกง, บุญมีแล็บ, Learn Education, เครือข่าย Corrupt Zero, หมาเฝ้าบ้าน, เครือข่ายจิตอาสา Strong, ชมรมเครือข่ายสื่อสืบสวนสอบสวน (ศึกษาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของ อปท.), สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชัน,

 

รัฐธรรมนูญของเรากำหนดเรื่อง ‘การมีส่วนร่วมของประชาชน’ ไว้มากถึง 22 มาตรา[1] การที่จะเป็นจริงได้ รัฐต้องหยุดอ้างข้อจำกัดหรือกฎหมายที่มนุษย์เขียนขึ้น แล้วสร้างกติกาใหม่ที่สนับสนุนและปกป้องการรวมตัวและมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยความใส่ใจและจริงจังกว่าทุกวันนี้

 

ดร. มานะ นิมิตรมงคล

เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

 

[1] https://ilaw.or.th/node/4697