ประเด็นร้อน

ทำไมต้องกลัวการแจ้งบัญชีทรัพย์สินฯ

โดย ACT โพสเมื่อ Nov 07,2018

- - ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์ - -

 

ต้องเรียกว่าสร้างความสะเทือนอย่างมากสำหรับระเบียบและประกาศที่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราช กิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงนามและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 รวดเดียว 6 ฉบับ โดยจะมีผลบังคับใช้จริงอีก 30 วัน หรือในวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ซึ่งเนื้อหาหลักของประกาศทั้ง 6 ฉบับ คือการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่น ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

ในประกาศของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ถูกจับจ้องและมี เสียงคัดค้านมากที่สุดในขณะนี้คงเป็นประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ซึ่งมีเนื้อหาถึง 17 หน้า โดยมีรายละเอียดตำแหน่งที่ต้องยื่นบัญชี ซึ่งหากย้อนไป ดูอำนาจของ ป.ป.ช.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ซึ่งมี ผลบังคับใช้วันที่ 22 กรกฎาคม 2561 นั้น ได้กำหนดผู้ต้อง ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ไว้ 9 ข้อ คือ

 

1.ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง

 

2.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

3.ผู้ดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระ

 

4.ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป

 

5.ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปก ครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป

 

6.ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป

 

7.ผู้ดำรง ตำแหน่งระดับสูง

 

8.ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และ

 

9.ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ซึ่งประกาศของ ป.ป.ช.ฉบับล่าสุดก็เป็นการขยายความลงรายละเอียดล้อตาม พระราชบัญญัติ ป.ป.ช.นั่นเอง

 

แต่ดูเหมือนกำหนดตำแหน่งการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 ดังกล่าวจะไม่ถูกใจบรรดาองค์กรอิสระ โดย เฉพาะในซีกที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข และบรรดาสถาบันอุดมศึก ษาในกำกับของรัฐ เพราะถึงขนาดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณ สุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องออกโรงออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะหารือกับ ป.ป.ช.เพื่อให้ทบทวนประกาศดังกล่าว

 

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของเสียงคัดค้านประกาศดังกล่าวก็มาจากการโพสต์เฟซบุ๊กของนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ปัจจุบันเป็นรักษาการแทนคณบดี สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่าจะสร้างความวุ่นวายให้สถาบันการศึกษาของรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใส แต่เป็นความรำคาญที่เสียสละและปวารณาตัวทำงานให้มหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องมาแจ้งทรัพย์สิน และหากแจ้งไม่ครบหรือเผอเรอยังอาจเจอคดีอาญาอีก!!!

 

แม้เป็นเหตุผลที่อาจฟังขึ้นบ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าเราเรียกร้องเรื่องการปราบปรามทุจริต และขจัดคอร์รัปชันให้หมดไป จากประเทศไทยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันมิใช่หรือ ซึ่งประกาศดังกล่าวก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่จะทำให้ประเทศไทยโปร่ง ใสเพิ่มมากขึ้น ทำไมจึงต้องคัดค้าน ทั้งที่หากเป็นทองแท้ย่อม ไม่กลัวไฟ ส่วนที่กลัวความรำคาญและยุ่งยากนั้นก็ควรปรึกษาหารือกับ ป.ป.ช.ให้เอื้ออำนวยการแจ้งบัญชีทรัพย์สินให้ง่าย และสะดวกขึ้น จึงมิใช่เหตุผลที่มากพอที่จะปฏิเสธหลักการ ใหญ่ที่จะสร้างประเทศไทยให้ปลอดจากการทุจริตและคอร์รัป ชัน หรือที่จริงแล้วผู้คัดค้านเรื่องดังกล่าวเกรงกลัวประกาศ ป.ป.ช.เรื่องหลักเกณฑ์ของผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรส พ.ศ.2561 ที่ประกาศออกมาบังคับใช้ในคราวเดียวกันแน่

 

 

 

 

#ร่วมเป็นคนไทยตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw