บทความ

'โฮปเวลล์' บทเรียนสำคัญของประเทศ

โดย ACT โพสเมื่อ Apr 29,2019

 

มีมุมมอง และการวิเคราะห์ถึงโครงการโฮปเวลล์ ในมิติต่างๆ จาก อาจารย์อิสร์กุล อุณหเกตุ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเคยร่วมวิจัย โครงการนี้

 

บทเรียนต่อประเทศ และโครงการขนาดใหญ่

 

บทเรียนสำคัญคือ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะมีภาคเอกชนร่วมลงทุนหรือไม่ จำเป็นต้องประกอบด้วย

 

  • ข้อเสนอโครงการที่ชัดเจน ทั้งข้อเสนอเชิงเทคนิคและข้อเสนอทางด้านการเงินอนุมัติโครงการ
  • การอนุมัติโครงการที่โปร่งใส ไม่ควรใช้การคัดเลือกผู้ดำเนินโครงการด้วยวิธีอื่นนอกจากการประมูล เว้นแต่มีเหตุผลที่ชัดเจน และต้องเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อสาธารณะ โดยเฉพาะสัญญาโครงการ
  • การกำกับดูแลให้โครงการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญาที่มีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าตรวจสอบโครงการได้

 

มิติของสัญญา

 

จุดอ่อนของสัญญาคือ เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่ฝั่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างตามกำหนดเวลาได้ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในดำเนินการก่อสร้างนั้นมีผลมาจากการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเองด้วยเช่นกัน ทั้งในประเด็นการส่งมอบพื้นที่และการตรวจแบบก่อสร้าง และเป็นข้อโต้แย้งสำคัญของฝั่งเอกชนในชั้นอนุญาโตตุลาการ


มิติของการกำกับดูแลของรัฐ การปกป้องรักษาผลประโยชน์

 

หากเชื่อว่าไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน  การกำกับดูแลโครงการดังกล่าวก็เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก แต่ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยและกระทรวงคมนาคมกลับปล่อยให้ฝั่งเอกชนดำเนินการต่อนานหลายปี นอกจากการกำกับดูแลที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว  การดำเนินการในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเองก็มีปัญหาด้วยเช่นกัน ทั้งในประเด็นการส่งมอบพื้นที่และการตรวจแบบก่อสร้าง

 

ใครควรรับผิดชอบ และแนวทางออกเงินค่าชดเชย

 

การรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการควรเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลโครงการมากที่สุด โดยในกรณีที่ตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตคอร์รัปชัน

 

ปัญหาสำคัญของโครงการโฮปเวลล์คือ โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งปัจจุบันกฎหมายในลักษณะดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จึงทำให้มีปัญหาในขั้นตอนต่างๆ ไม่น้อย ดังนั้น เมื่อมีกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือสาธารณูปโภคขนาดใหญ่แล้วก็ควรดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว

 

 

 

 

 

#ร่วมเป็นคนไทยตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw