สื่อประชาสัมพันธ์

ACT Now EP.12 CPI และ ปฏิรูปตำรวจและอัยการ

โดย ACT โพสเมื่อ Jan 19,2021

 ACT Now EP.12

 

ACT Now EP 12 .1 เพิ่มความโปร่งใสเพื่อคะแนน CPI ที่มากขึ้น

..แล้วอะไรที่ต่างชาติมองประเทศไทยมากที่สุดคือเขาไม่ได้มองแค่เรื่องของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศแต่ยังหมายถึงใครก็ตามที่มาทำธุรกิจในประเทศไทยหรือคนไทยที่ทำมาหากินอยู่ การไปติดต่อหน่วยงานราชการ มีการเรียกรับสินบน มีการจ่ายใต้โต๊ะไหม... การจัดอันดับคอร์รัปชันโลกปีนี้ ประเทศไทยได้คะแนนเท่าเดิม 3 ปีต่อเนื่อง ที่ 36 คะแนน แต่ว่าอันดับของประเทศไทยตกลงไปเรื่อยๆ จาก 99 มาเป็น 101 ในปีที่แล้ว ก็กลายมาเป็น 104 ในปีนี้ แปลว่าหลายๆ ประเทศทั่วโลก เขาพยายามที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาแต่ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ การที่เราอยู่กับที่ ทำให้เราถดถอยลง ถามว่า แล้วอะไรที่ต่างชาติมองประเทศไทยมากที่สุดคือเขาไม่ได้มองแค่เรื่องของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศแต่ยังหมายถึงใครก็ตามที่มาทำธุรกิจในประเทศไทยหรือคนไทยที่ทำมาหากินอยู่ การไปติดต่อหน่วยงานราชการ มีการเรียกรับสินบน มีการจ่ายใต้โต๊ะไหม มีการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ให้กับกลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษเหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่า ขณะเดียวกันในบางสถาบันที่เขาประเมินประเทศไทย เขาก็จะเช็คว่าเมื่อมีการทำผิดกฎหมาย สามารถที่จะไปจับกุม ลงโทษ นำคนผิดมาลงโทษได้มากน้อยแค่ไหน เสรีภาพของสื่อมวลชนที่จะตรวจสอบ การทำงานของนักการเมือง ของรัฐบาล การทำงานของภาครัฐ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐต่างๆ ว่ามีความโปร่งใสหรือเปล่า การใช้งบประมาณตั้งแต่ระดับรัฐบาลไปจนถึง ระดับหน่วยงานล่างๆ ไปจนถึงระดับ อบต. อบจ. สิ่งเหล่านี้เขาประเมินทั้งหมดเพราะฉะนั้นในการที่จะทำให้คะแนนประเทศไทยดีขึ้น ไม่ใช่ว่าเราจะไปกระตุ้นรัฐบาลอย่างเดียวหรือไปทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การที่จะทำให้คะแนน CPI ของประเทศไทยดีขึ้น อันดับ 1 เลยก็คือว่าการให้บริการของภาครัฐ การใช้อำนาจ ใช้งบประมาณ ทุกอย่างจะต้องทำอย่างโปร่งใส การให้บริการของภาครัฐ การใช้อำนาจ ใช้งบประมาณ ทุกอย่างจะต้องทำอย่างโปร่งใส ชี้แจงได้ มีที่มาที่ไป อันที่ 2 ก็คือว่าหน่วยงานตรวจสอบหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปราบปรามคอร์รัปชันจะเป็น ป.ป.ช. ป.ป.ท. เป็น สตง. หน่วยงานเหล่านี้จะต้องมีความเป็นอิสระ ขณะเดียวกันองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม เช่นตำรวจ อัยการ หรือศาล หน่วยงานเหล่านี้จะต้องทำให้ประชาชนมีความมั่นใจว่าทุกที่มีความเป็นอิสระ ทุกที่ ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีศักยภาพในการทำงานที่จะรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม และประเด็นสุดท้ายก็คือว่าเราไม่สามารถที่จะไปฝากความหวังเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชันเอาไว้กับใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ ทั่วโลกให้การยอมรับว่าจะต้องทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและมีพลังของประชาชน มีพลังของภาคประชาสังคมของสื่อมวลชนที่จะมาช่วยกันตรวจสอบการใช้เงิน ใช้อำนาจของภาครัฐ ของนักการเมือง จะต้องทำให้ประชาชนคอยเป็นหูเป็นตาและทำให้เกิดวัฒนธรรมในประเทศเหมือนกันว่าเราไม่โกงและเราจะไม่ยอมให้ใครโกง ทุกคนจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราว่า เราปฏิเสธการโกง ทำอย่างนี้ถึงจะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้ ทำอย่างนี้ถึงจะยกระดับ CPI ของประเทศได้ สำคัญที่สุดที่จะทำให้คอร์รัปชันในประเทศไทยหมดไป ก็คือประชาชนไม่ยอม วันนี้เรามีเทคโนโลยี เรามีเครื่องมือสื่อสารอยู่ในมือของเรามากมาย เราสามารถส่งต่อ บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น บอกเหตุสิ่งที่สังคมยังไม่รู้ให้ทุกคนในประเทศไทยได้รับรู้ร่วมกันให้เกิดพลังในการต่อต้านคอร์รัปชันขึ้นอยู่กับพลังของประชาชน

 

ACT Now EP 12 1 5 คดีดังที่เราต้องมาช่วยกันตามต่อ

ท่านผู้ชมผู้ฟังครับ ที่ผ่านมามีคดีคอร์รัปชันเกิดขึ้นมากมายในบ้านของเรา หลายๆ เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนแต่มีหลายๆ เรื่องเงียบหายไป วันนี้มี 5 คดีดังที่เราต้องมาช่วยกันตามต่อ คดีแรกเราจำกันได้ดี เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554 หลังจากนั้นมีการอัดฉีดงบประมาณของรัฐบาลไปหลักแสนล้านบาท เพื่อไปแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ แต่เมื่ออดีตเลขาธิการสำนักงาน ป.ป.ท. ในสมัยนั้น ออกสุ่มตรวจในพื้นที่ 6 จังหวัด กลับพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในทุกโครงการที่ไปทำการตรวจสอบ ผลที่ตามมาก็คือว่าอดีตเลขาธิการ ป.ป.ท. ท่านนั้น ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันทีที่ไปตรวจพบ หลังจากนั้นมีโครงการของรัฐบาลที่จะใช้เงินอีกหลายแสนล้านบาท เข้าไปแก้ไขปัญหาแต่ว่าก็มีเสียงคัดค้านตามมามากมาย สะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาของประชาชนมักจะล้มเหลวหรือไม่มีประสิทธิภาพเพราะการคอร์รัปชัน จึงจำเป็นที่เราจะต้องติดตามเรื่องนี้ ถึงแม้จะผ่านมา 10 ปีแล้ว ไม่มีความคืบหน้า เราก็ต้องไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไป คดีที่ 2 เรื่องจำนำข้าว การขายข้าว G2G เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ ที่ถึงวันนี้ก็ยังไม่จบสิ้น มีคดีเล็กคดีน้อยพ่วงอยู่จำนวนมาก ผ่านมานับ 10 ปี ถึงวันนี้มีบางคดีย่อยกำลังเป็นที่วิตกกังวลว่ากำลังจะหมดอายุความหรือไม่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นและกล่าวอ้างกันว่าอาจจะถึง 500,000 - 600,000 ล้านบาท ไม่ถูกพิสูจน์ เราจะหาคนผิดหาคนมาชดใช้ได้อย่างไร คดีที่ 3 เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 และ ALPHA 6 คดีนี้เป็นมหากาพย์ลวงโลกที่นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจจำนวนมากหลงเชื่อหรือบางคนก็มีเจตนาทุจริตโดยตรง หน่วยราชการของไทยหลายแห่งซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดตัวนี้ด้วยราคา ถูก แพง แพงมาก ไม่เท่ากัน เราต้องหาตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้ อย่าลืมนะครับ ในต่างประเทศบริษัทผู้ขาย ตัวคนขายถูกจับดำเนินคดีในข้อหาหลอกลวงไปแล้วแต่ในประเทศไทย คนขาย คนซื้อ คนอนุมัติ ยังไม่มีใครถูกลงโทษแม้แต่รายเดียว คดีที่ 4 คดีบอส กระทิงแดง เหตุเกิดเมื่อทายาทมหาเศรษฐีขับรถชนตำรวจตายแล้วตัวเขาเองก็หนีไปต่างประเทศได้ เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่กลับมาดังอีกครั้งหนึ่งในปีที่ผ่านมา คดีนี้สะท้อนถึงความผิดพลาดล้มเหลวของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการบางคนที่ให้การช่วยเหลือผู้กระทำผิด ประชาชนต้องการเห็นความชัดเจนว่าจากผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดท่าน อ.วิชา มหาคุณ ใครมีความผิด ใครสมรู้ร่วมคิดกันช่วยเหลือคนผิด มีอัยการ มีตำรวจใหญ่น้อยคนไหนบ้าง ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปสู่การปฏิรูปตำรวจและอัยการครั้งใหญ่ เรื่องที่ 5 คดีเหมืองทองอัครา เรื่องนี้คนไทยจะต้องติดตามโดยแยกออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งก็คือตามที่ ป.ป.ช. ให้ข่าวว่าเอกชนมีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของไทยเพื่อให้ได้สัมปทานทำเหมืองทอง เรื่องที่ 2 ก็คือกรณีที่ประชาชนร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบธุรกิจเหมืองแล้วทำให้รัฐบาลในช่วงเวลานั้นประกาศยุติการทำเหมืองเอาไว้ก่อน จนเป็นเหตุให้บริษัทเอกชนฟ้องเรียกร้องความเสียหายจากรัฐบาลมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ส่วนที่ 3 ก็คือการที่เรายังเห็นข้อมูลว่าเอกชนรายนี้มีความพยายามที่จะขยายธุรกิจ พยายามที่จะขอสัมปทานเหมืองแร่ในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดอื่นๆ ออกมาอีก ทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นเรื่องที่เราต้องตามไปพร้อมๆ กัน ว่ามีบทสรุปอย่างไร ทั้ง 5 คดีที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหลายๆ คดีคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและที่สำคัญอยากให้ประชาชนร่วมติดตามไปพร้อมกับเราองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน


 
ACT Now EP 12 2 ปฏิรูปตำรวจและอัยการให้มีความ โปร่งใส รับผิดชอบ ตรวจสอบได้
 
...การแก้ไขพรบ. ตำรวจแห่งชาติก็ยังเป็นเรื่องที่ค้างคากันในรัฐสภาฯ เราก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วจะนำไปสู่การปฏิรูปได้จริงจังไหม... ในตอนที่แล้วเราพูดถึงคดีคอร์รัปชันดังๆ 5 คดี จะมี 2 หน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงนั่นก็คือตำรวจและสำนักงานอัยการสูงสุด แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทั้ง 2 หน่วยงานจะทำคดีอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมาเพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าผู้หลักผู้ใหญ่ของตำรวจและอัยการสูงสุดต่างก็นิ่งเงียบ ไม่ได้ออกมาชี้แจง ออกมาบอกกล่าวกับปราชาชนว่าเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เขาจะทำอย่างไรให้องค์กรของตัวเองเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน ทำให้ประชาชนมีความคาดหวังได้ เชื่อมั่นได้ อย่างที่ควรจะเป็น สำหรับตำรวจ การแก้ไขพรบ. ตำรวจแห่งชาติก็ยังเป็นเรื่องที่ค้างคากันในรัฐสภาฯ เราก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วจะนำไปสู่การปฏิรูปได้จริงจังไหม แต่เรื่องของอัยการสูงสุดเรายังไม่เคยมีการพูดกันเรื่องนี้ ในสภาพที่เป็นจริงวันนี้ก็คือว่าหากอัยการโดยเฉพาะคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ คนที่อยู่ในตำแหน่งสูงๆ ทำอะไรไม่ถูกต้อง ไม่ชอบมาพากล ทางเดียวที่จะตรวจสอบได้ก็คือต้องมีการร้องเรียนไปที่สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่มีหน่วยงานอื่นนอกจากนี้ เราอาจจะคาดหวังได้ก็คือให้ ส.ส. หรือ ส.ว. นำประเด็นเรื่องราวไปอภิปรายในรัฐสภาฯ แต่ประชาชนทำอะไรได้ไหมเพราะฉะนั้นถึงจุดนี้ คงต้องขอปรึกษาท่านผู้ชมทุกท่านด้วยครับว่าเราจะทำอย่างไรกันดี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ ในสำนักงานอัยการสูงสุดและในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเองในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เรามีการออกแถลงการณ์ที่เกี่ยวกับตำรวจและอัยการอย่างน้อย 2 ฉบับ ครั้งแรกก็คือเมื่อเกิดกรณีสั่งไม่ฟ้องคดี บอส กระทิงแดง และฉบับที่ 2 คือการท้วงติงเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการอัยการชั้นสูงที่มีมลทินมัวหมองว่าเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลแล้วหรือไม่ แถลงการณ์ทั้ง 2 ฉบับสะท้อนให้เห็นถึงภารกิจขององค์กรภาคเอกชน ที่ต้องมาชี้ประเด็นและเรียกร้องความถูกต้อง ความชัดเจน การทำหน้าที่ของข้าราชการในองค์กรอิสระ ถ้าย้อนประเด็นไปในเรื่องของการปฏิรูป แน่นอนว่าการปฏิรูปตำรวจเราเห็นความคืบหน้าบ้างเล็กน้อย หลังจากพูดกันมา 30 ปี ก็คือ มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาฯ หลายฝ่ายที่ติดตามศึกษาการปฏิรูปตำรวจ ชี้ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นฉบับแปลงสารหรือฉบับตัดต่อ ก็คือไม่ได้มีสาระที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตำรวจได้อย่างจริงจัง หากแต่ว่าการปฏิรูปในส่วนของอัยการ ตรงนี้เรายังไม่เห็นทิศทางเพราะว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพิ่งกำหนดยกสถานะของอัยการสูงสุด ให้เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ ก็คือเป็นองค์กรที่มีความพิเศษสูงกว่าหน่วยราชการทั่วๆ ไป ดังนั้นเราก็คงต้องมาดูอีกเหมือนกันว่าจะมีทิศทางในการปฏิรูปอัยการสูงสุดได้อย่างไร เราจะช่วยกันกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดการปฏิรูปในสถาบันตำรวจและอัยการสูงสุดได้ด้วยวิธีไหน ยังเชื่อว่าแนวทางสำคัญคือยังเชื่อว่าแนวทางสำคัญคือต้องทำให้สถาบันทั้ง 2 นั้น ดำรงอยู่ได้ด้วยความโปร่งใส รับผิดชอบ ตรวจสอบได้