Hot Topic!

กทม ตอบกลับ 3 ประเด็น ที่ ACT ขอให้เปิดเผยข้อมูลร่างผังเมืองฉบับใหม่

โดย ACT โพสเมื่อ Feb 08,2024

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 (LINK : https://bit.ly/3ukQ3FM) ACT ได้ทำหนังสือถึง คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้แสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับพันธกิจในการดูแลประโยชน์ของประชาชนชาว กทม. และสร้างบรรทัดฐานของการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักสากลของ Open Government เป็นต้นว่า เหตุจำเป็นที่ต้องจัดทำร่างผังเมืองใหม่ แนวทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผลกระทบในระยะยาว ทางเลือกและข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการหรือที่เสนอแนะโดยองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
.
และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ได้ทำหนังสือตอบกลับใน 3 ประเด็น ดังนี้
.
1. #เหตุจำเป็นที่ต้องจัดทำร่างผังเมืองใหม่
การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) จัดทำขึ้นเพื่อชี้นำการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร และบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีความปลอดภัย (Public Safety) มีสุขอนามัย (Public Health) และมีสวัสดิภาพของสังคม (Public Welfare) ผ่านการควบคุมและส่งเสริมการพัฒนาเมืองด้วยแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางด้านผังเมือง โดยมุ่งหวังให้กรุงเทพมหานครมีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเและสังคมของประเทศ และมีความเหมาะสมกับระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐ มีความสมดุลระหว่างที่พักอาศัย พาณิชยกรรม และแหล่งงาน ลดระยะการเดินทาง ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง มีระบบคมนาคมสมบูรณ์ และเป็นเมืองที่ มีสภาพแวดล้อมที่ดี นอกจากจะเป็นการถ่ายทอดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการดำเนินการตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อตอบรับกับ "สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ" ตามการประเมินผลผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนที่เพิ่มขึ้นทั้งโดยการขยายสายทางและการก่อสร้างขึ้นใหม่รวมจำนวน 1 สายทาง เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนจำนวนมากอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้ชี้นำถึงการพัฒนาโดยการกำหนดให้มีศูนย์พาณิชยกรรมในระดับต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนกรุงเทพมหานครจากการเป็นมหานครศูนย์กลางเดียว (Monocentic) เป็นมหานครหลายศูนย์กลาง (Polycentric) เพื่อการกระจายความเจริญออกจากเขตชั้นในไปยังเขตชั้นกลางและเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างความสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน (job and housing balance) และการลดความจำเป็นในการเดินทางและปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร
.
2. #แนวทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ภ) เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 116 พ.ศ. 2535) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 1 (กฎกระทรวง ฉบับที่ 414 พ.ศ. 2542) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปรับปรุงครั้งที่ 2 (กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2549) และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 3 (กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2556) โดยได้มีการกำหนดย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาการของกรุงเทพมหานครจากการเป็นมหานครศูนย์กลางเดียว(monocentic) ซึ่งประกอบด้วยย่านพาณิชยกรรมศูนย์ กลางเมือง (Central Business District หรือ CBD)ในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร เป็นมหานครหลายศูนย์กลาง (mutticentic) ซึ่งประกอบด้วยย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง (CBD) ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางรอง (sub CBD) ย่านพาณิชยกรรมเมือง (commercial zone)ศูนย์ พาณิชยกรรมซานเมือง (suburban center) และย่านพาณิชยกรรมชุมชน (community center)ที่ตั้งอยู่ในเขตชั้นใน เขดชั้นกลาง และเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการขยายพื้นที่เมืองในระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่เพื่อการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม นอกจากจะพิจารณาถึงความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้งที่มีความพร้อมต้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการซึ่งเป็นการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนและภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ดำเนินการด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของการวางและจัดทำผังเมืองรวม (comprehensive plan) อาจศึกษาได้จากGreater Bangkok Plan 2533 ซึ่งเป็นแนวทางการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่เสนอต่อรัฐบาลโดยคณะที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา
.
3. #ข้อมูลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการขัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา * ของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์แบบเคลื่อนไหว รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ สื่อวิทยุสื่อโทรทัศน์ หนังสือราชการ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบบ่ลิว สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น และจัดให้มีการปิดประกาศแสดงรายการเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวม ก่อนวันประชุมรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชน โดยปิดประกาศรายการที่เกี่ยวข้องไว้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงประชาชนสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ทางเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง webportal.bangkok.go.th/cpud และเว็บไซต์ของโครงการวางและจัดทำผังเมืองกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) www.plan4bangkok.com กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามประกาศกรุงเทพมหานคร "เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เชิญชวนประชาชนแสดงความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ปรับปรุงครั้งที่ 4) ลงวันที่ 19 มกราคม 2567 โดยประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นเป็นหนังสือเพื่อให้มีผลเกี่ยวกับสิทธิในการยื่นคำร้องขอแก้ไข เลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ติน โดยยื่นหนังสือด้ที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง หรือส่งเปรษณีย์ หรือแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (https://webportal.bangkok.go.th) ได้จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 หลังจากระยะเวลาการยื่นหนังสือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่สิ้นสุดลง กรุงเทพมหานครจะประมวลข้อคิดเห็นที่ได้รับจากประชาชน และจะเผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชนทางเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเพื่อให้ประชาชนทราบต่อไป
.
ลงชื่อ นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง