ภาคีของเรา

การทำงานต่อต้านการโกงนั้นเป็นงานที่ใหญ่และหนักสาหัสไม่สามารถที่จะทำให้สำเร็จลุล่วงได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องมีสมาชิกร่วมแรงร่วมใจจึงจะสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มีองค์กรสมาชิกที่มีหัวใจเดียวกันรวม แล้วกว่า 50 องค์กร ดังต่อไปนี้

  1. หอการค้าไทย
  2. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  3. หอการค้าต่างประเทศ
  4. สมาคมธนาคารไทย
  5. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  6. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  7. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
  8. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
  9. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  10. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
  11. สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
  12. มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
  13. สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
  14. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
  15. ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ
  16. โครงการฑูตความดีแห่งประเทศไทย
  17. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
  18. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  19. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
  20. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  21. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ
  22. สมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ แห่งประเทศไทย
  23. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
  24. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  25. สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
  26. สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
  27. หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
  28. สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
  29. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  30. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
  31. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
  32. องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย
  33. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
  34. มูลนิธิ “เพื่อคนไทย”
  35. คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ
  36. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
  37. สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย
  38. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
  39. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  40. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  41. โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
  42. มหาวิทยาลัย รังสิต
  43. สภาการเหมืองแร่
  44. มูลนิธิเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  45. สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (สอ.ยด.)
  46. สถาบันพระจอมเกล้า ธนบุรี
  47. สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
  48. สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเลคทรอนิคไทย
  49. สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย
  50. มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (มสท.)
  51. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
  52. กระทรวงพาณิชย์
  53. สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  54. มูลนิธิส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

 


 

ความร่วมมือกับภาคี

เพื่อให้ภารกิจในการต่อต้านการคอร์รัปชันลุล่วงตามเป้าหมาย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ปฏิบัติงานร่วมกับภาคีและเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ดังนี้

ภาคีภาครัฐ

คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)และศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)


ในการเสนอคดีทุจริตให้กับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ร่วมมือกับรัฐบาลผ่านบทบาทการเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)และในศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) ทำหน้าที่เสนอคดีทุจริตให้ ศอตช.พิจารณาเร่งรัดและแถลงความคืบหน้าการดำเนินคดีที่ประชาชนสนใจให้ทราบเป็นระยะโดยได้เปิดเว็บไซต์รวบรวมคดีต่างๆ ให้ประชาชนติดตามความคืบหน้าได้ตลอดเวลา นำไปสู่การ เร่งรัดคดีและการใช้กฎหมายมาตรา 44 เพื่อปลดเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ระหว่างการสอบสวนดำเนินคดีทุจริตให้พ้นจากตำแหน่งด้วยการโยกย้ายและพักปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวมีการร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน ได้แก่

 

  • ปลัดกระทรวงยุติธรรม
  • อัยการสูงสุด
  • ประธานกรรมการติดตามการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
  • เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  • เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
  • เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ง.
  • อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผู้แทนภาคเอกชน (คุณประมนต์ สุธิวงศ์)
  • ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย ผู้แทนภาคประชาสังคม (รศ.จุรี วิจิตรวาทการ)
  • เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นเลขานุการฯ
  • ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ท. (2 คน) เป็นผู้ช่วยเลขานุการฯ

 

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

ร่วมมือกับ ป.ป.ช.และ ป.ป.ท.ในการนำข้อมูลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ เพื่อเปิดโปงกลโกงที่สร้างความเสียหายให้แก่ ประเทศชาติ อันเป็นภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์3 ป.ในส่วนของการเปิดโปงนอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานจากภาครัฐอื่นๆ ในการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ

 

โครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร

โครงการแก้ปัญหาการขอใบอนญุาต รง.4 รว่ มกบักระทรวงอุตสาหกรรม

โครงการฮั้วกันไม่โกงและใบอนุญาตยิ้ม ร่วมกับกรุงเทพมหานคร

 

ภาคีภาคเอกชน

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการป้องกันการคอร์รัปชันผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้

โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต
(Thailand’s Private SectorCollective Action Coalition Against Corruption= CAC)

“แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชัน” (Collective Action Against Corruption – CAC)เป็นการรวมตัวของธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดคอร์รัปชันในสังคมไทย สมาชิกที่เข้าร่วมต้องประกาศนโยบายต่อต้านการ ทุจริตทุกรูปแบบและจัดทำระบบป้องการจ่ายสินบน รวมทั้งให้ความมือสนับสนุนการสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี บนพื้นฐานของหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) และความรับผิดชอบต่อสังคม(Social Responsibility) การรวมตัวอย่างเหนียวแน่นและลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงจังของสมาชิก CAC ตามที่ได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ไว้จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลของสังคมไทยต่อไป

โครงการความร่วมมือ กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และองค์กรด้านตลาดทุนอื่นๆ

ร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจเอกชนมีบทบาทในการแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน อย่างจริงจัง

ภาคีภาคการศึกษา

นอกจากนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ว่าจะเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้ในระยะยาว จึงได้ร่วมมือกับองค์กรภาคการศึกษาในการปลูกฝังทัศนคติให้เยาวชนตามยุทธศาสตร์3 ป. ดังต่อไปนี้

พัฒนาหลักสูตร ‘โตไปไม่โกง’ เพื่อบรรจุในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ (ดำเนินการโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย)

ร่วมมือกับภาครัฐผ่านบทบาทการเป็นคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)

โครงการบัณฑิตไทยไมโ่กง และการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านคอร์รัปชัน (ดำเนินการโดย ทปอ.)

สนับสนุนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย (ทปอ.) เพื่อดำเนินโครงการปลูกฝังค่านิยม “ไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน’อย่างต่อเนื่องในสถาบันการศึกษา”

ภาคีองค์กรระหว่างประเทศ

United Nations Development Programme UNDP

UNDP มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีTrue Coffee และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)ได้ร่วมมือกันผนึกกำลังสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ร้านกาแฟคอรัป “ฉัน” ไม่ขอรับ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้การบริหารธุรกิจร้านกาแฟจากมืออาชีพ พร้อมมีส่วนร่วมกับองค์การสหประชาชาติ และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนแปลงสังคม และเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ปลอดคอร์รัปชัน โดยผลกำไรที่ได้รับจากธุรกิจนี้จะนำไปสนับสนุนกิจกรรมต้าน คอร์รัปชันของนักศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต นอกจากนั้น ร้านกาแฟนี้ยังถือเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่ในการพูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนความคิด และวางแผนกิจกรรมรณรงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชุมชน และระดับประเทศ

Foreign Chamber of Commerce

เป็นภาคีกับหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 บนความร่วมมือของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยเข้าเป็นสมาชิกของหอการค้านานาชาติ (ICC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจไทยมีบทบาทโดยตรงในการร่วมกำหนดนโยบายทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก