ผลงานที่โดดเด่นและกิจกรรมองค์กร

  1. ปี 2560 "โครงการร้อยพลังต่อต้านคอร์รัปชัน" (ACTIVE CITIZEN)
  2. ปี 2560 "งาน Good Society Expo เทศกาลทำดีหวังผล"
  3. ปี 2560 “คุยเรื่องโกงผ่านหนัง”
  4. ปี 2560 "ร่วมเขียนกฎหมายต้านโกง ให้ถูกใจคนไทย”
  5. ปี 2560 “ติดตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์”
  6. ปี 2560 “ใบอนุญาตก่อสร้าง: ความสะดวกที่ต้องจ่าย...จริงหรือ?"
  7. ปี 2560 "โครงการค่ายเยาวชนไทย ไร้คอร์รัปชัน YOUTH 2020"
  8. ปี 2560 "โครงการสร้างความร่วมมือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันภาคประชาชน"
  9. ปี 2560 "โครงการสร้างความโปร่งใสในการก่อสร้างขนาดใหญ่ภาครัฐ"
  10. ปี 2560 "โครงการข้อตกลงคุณธรรม"
  11. 6 กันยายน...วันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ
  12. ปี 2556 “ACT NOW ร่วมกันสู้ กอบกู้อนาคต”
  13. ปี 2558 “ACTIVE CITIZEN ปลุกสำนึกไทยต้านภัยคอร์รัปชัน”
  14. ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020
  15. พ.ร.บ. อำนวยความสะดวก
  16. ปี 2555 “รวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย”
  17. ปี 2557 “HAND IN HAND ปฏิรูปการต่อสู้เพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน”
  18. หมาเฝ้าบ้าน

ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020

สัญญาณอันตรายรุนแรงประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยคือ ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ระบุว่า ประชาชนถึงร้อยละ 75 หากพบเห็นการคอร์รัปชันแล้วจะ “นิ่งเฉยไม่ทำ อะไร” เพราะเห็นว่า “ไม่เกี่ยวกับตัวเอง” วิกฤตทางเจตคติดังกล่าวนี้ทำให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) คิดทำโครงการค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020 ขึ้น เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาจิตสำนึกในการต่อต้านคอร์รัปชันแก่เด็กและเยาวชนโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้คุณค่าหลัก 6 ประการคือ

  1. ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
  2. การเป็นอยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency)
  3. การมีจิตสาธารณะ (Public Mind)
  4. การเรียนรู้ภาวะผู้นำ(Leadership)
  5. ความเป็นธรรมทางสังคม (Fairness)
  6. การปฏิเสธการคอร์รัปชัน (Anti-Corruption)

ค่ายเยาวชนนี้เป็นกิจกรรมแบบบูรณาการ อบรมนิสิตนักศึกษามาแล้วเป็นจำนวน 6 รุ่น รวมกว่า 300 คนจากสถาบันการศึกษา 50 แห่ง (ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2557 ถึงปัจจุบัน) โดยมีครูอาจารย์และบุคลากรของสถาบันเข้าร่วมด้วย เมื่อจบค่ายฯ ตัวแทนเยาวชนเหล่านี้ได้นำโครงงานที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการโครงการฯ ไปทำกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยเพื่อนำความรู้ไปขยายผลและจัดกิจกรรมต่อยอด พร้อมทั้งจัดตั้งชมรมส่งเสริมการต่อต้านการคอร์รัปชันและสร้างกลุ่มเครือข่ายแกนนำนักศึกษาตามแต่ละบริบทของสถาบันนับเป็นการดำเนินการในมิติของการ “ปลูกฝัง” และ “ป้องกัน” ตามยุทธศาสตร์ 3 ป. นั่นเอง